ทำความรู้จักกับ โควิด19 สายพันธุ์แลมบ์ดา สายพันธุ์ใหม่ที่ก่อตัวขึ้น

โควิด19

โควิด-19 สายพันธุ์แลมบ์ดา ซึ่งเป็นสายพันธุ์ชนิดใหม่ที่ปรากฏใน 29 ประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทวีปอเมริกาใต้อีกด้วย จึงทำให้สร้างความแตกตื่นและไม่ควรที่จะมองข้าม และวันนี้เรามาทำความรู้จักกับ สายพันธุ์ชนิดนี้กันดีกว่า 

โควิด 19 สายพันธุ์แลมบ์ดา 3

ทำความรู้จักกับ โควิด19 สายพันธุ์แลมบ์ดา

โควิด-19 สายพันธุ์แลมบ์ดา ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งสายพันธุ์ ในชื่อวิทยาศาสตร์คือสาย C.37 ที่ปรากฏตัวครั้งแรก ในช่วงปลายปี 2020 ที่ผ่านมาโดยทางการไปรู้ได้ทำการตรวจสอบ และพบสายพันธุ์ชนิดนี้และผลปรากฏว่า แพร่ระบาดสูง ถึงร้อยละ 81 ในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา นอกจากนี้แล้วยังมีการพบขึ้นเรื่อยๆในประเทศ แถบอเมริกาใต้ไม่ว่าจะเป็นทาง ชิลี อาร์เจนตินา เอกวาดอร์ และประเทศอื่นๆ

อีกทั้งยังมีข้อมูลเพิ่มเติมจากศูนย์จีโนม ทางการแพทย์ของประเทศไทย ที่ออกมาระบุพันทาง Center for Medical Genomics ได้ออกมาเปิดเผยถึงรหัสพันธุกรรม จากการวิเคราะห์ในลักษณะของแผนภูมิวิวัฒนาการชาติติพันธ์ พบว่าการกลายพันธุ์ในครั้งนี้มีการเริ่มต้น จากสายพันธุ์อู่ฮั่นที่ดั้งเดิมจากสายพันธุ์เบต้าและเอปไซลอน ที่มีแนวโน้มที่จะระบาดรุนแรงกว่าเดลต้าอีกด้วย

โควิด 19 สายพันธุ์แลมบ์ดา 2

 สายพันธุ์ชนิดนี้ อันตรายมากแค่ไหน?

ในปัจจุบันนี้  โควิด-19 สายพันธุ์แลมบ์ดา เรียกได้ว่าเป็นสายพันธุ์ที่ต้องให้ความสนใจเป็นอย่างมากเลยก็ว่าได้เนื่องจากความชุกชุม เพิ่มขึ้นในทวีปอเมริกาใต้และมีโอกาส ที่จะแพร่กระจายของสายพันธุ์อย่างรวดเร็วมากกว่าสายพันธุ์ ที่มีอยู่อีกทั้งสายพันธุ์ชนิดนี้ ต้องให้ความสนใจซึ่งสร้างความแตกต่างและความน่ากังวลใจ ด้วยเช่นเดียวกันกับสายพันธุ์ ที่จะต้องได้รับการเฝ้าระวังจากองค์กรอนามัยโลก แต่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ด้วยว่า จะเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพ ประชาชนได้มากน้อยแค่ไหน

อีกทั้งถึงแม้ว่าจะมีรายงานว่า โควิด-19 สายพันธุ์แลมบ์ดา  มีความรุนแรงมากกว่าสายพันธุ์แบบดั้งเดิมและช่วยลดประสิทธิภาพ และวัคซีนได้ด้วยแต่อย่างไรก็ตาม มีข้อมูลปัจจุบันออกมาเปิดเผยว่าสายพันธุ์ชนิดนี้ ช่วยลดประสิทธิภาพของวัคซีนชนิด mRNA (เช่น ไฟเซอร์ โมเดอร์นา) ไปเพียงแค่ 2-3 เท่านั้นแต่ยังไม่ได้ มีข้อมูลยืนยันอย่างชัดเจน ถึงประสิทธิภาพของวัคซีน เชื้อตายอย่าง ซิโนแวค ซิโนฟาร์ม ว่าจะช่วยป้องกันได้มากน้อยแค่ไหน

นอกจากนั้นแล้วยังมีการพบว่ายาต้านไวรัส ที่เป็นแบบแอนติบอดี้สังเคราะห์ ยังทำงานได้ดีกับสายพันธุ์ชนิดนี้แต่อย่างไรก็ตาม ผลวิจัยชี้ชัดหรือว่าวัคซีนยัง ใช้อยู่ในปัจจุบันยังสามารถป้องกันไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์นี้ได้อยู่ และยังคงช่วยบำบัดด้วยแอนติบอดี้สังเคราะห์ ยังคงคู่กันและมีประสิทธิภาพที่ดีอย่างไรก็ตามข้อมูล ทั้งหมดยังอยู่ในช่วงของการศึกษาเพิ่มเติม ต้องติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิดอีกครั้งหนึ่ง